จังหวัดสุรินทร์มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 2,145 กองทุน (แยกเป็นกองทุนหมู่บ้าน 2,120 กองทุน ,กองทุนชุมชนเมือง 25 กองทุน) ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์ ได้ดำเนินการมาครบ 14 ปี มีเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งสิ้น เป็นเงิน 7,671,165,305บาท (-เจ็ดพันหกร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนหกหมื่นห้าพันสามร้อยห้าบาท-) แยกเป็น 4 บัญชี ดังนี้
บัญชี 1 (1 ล้านบาท) ประกอบไปด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 เงินจัดสรรจากรัฐบาล ได้แก่
1. เงิน 1 ล้าน (บาท) จำนวน 2,145 กองทุน เป็นเงิน 2,145,000,000 บาท
2. เงินเพิ่มทุนระยะที่ 1 (1แสนบาท) 659 เป็นเงิน 65,900,000 บาท
3. เงินเพิ่มทุนระยะที่ 2 จำนวน 2,125 กองทุน เป็นเงิน 469,200,000 บาท
4. เงินเพิ่มทุนระยะที่ 3 (26 มค.59) จำนวน 2,107 กองทุน เป็นเงิน 2,107,000,000 บาท
ส่วนที่ 2 เงินสมทบกองทุน และเงินประกันความเสี่ยง เป็นเงินทั้งสิ้น 193,713,166 บาท
บัญชี 2 (หุ้น/สัจจะ/เงินออม) เป็นเงิน 382,774,788 บาท
บัญชี 3 เงินเพิ่มทุนจากสถาบันการเงิน เงินเพิ่มทุนปกติ จากสถาบันการเงิน เป็นเงิน 671,365,298 บาท เงินเพิ่มทุน ตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 1,1614 กองทุน เป็นเงิน 1,610,934,800 บาท(ข้อมูล 1ม.ค59)
บัญชี 4/ เงินอุดหนุน/บัญชีอื่นๆ สถาบันการเงินชุมชน เป็นเงิน 25,277,253 บาท
การขับเคลื่อนการดำเนินการดังนี้
1. การจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนิติบุคคล
ดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 แล้วจำนวน 2,131 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 99.40 คงเหลือ 13 กองทุน (ชุมชนเมือง) ปี 2555 จัดตั้งและจดทะเบียน และได้รับเงินโอน 1 ล้านบาท เมื่อปี 2558 จำนวน 1 กองทุน รวมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว 2,132 กองทุน
2. การจัดระดับ A B C D จาก สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ปี 2555 จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับจัดระดับการประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2,144 กองทุน ดังนี้
ระดับดีมาก (A) จำนวน 1,186 กองทุน ระดับดี (B) จำนวน 697 กองทุน ระดับ (C) จำนวน 222 กองทุน ระดับปรับปรุง(D) จำนวน 39 กองทุน
3. การดำเนินการ ตามโครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3 จำนวน 1,000,000 บาท (ตั้งแต่ปี 2555- ปัจจุบัน )
3.1 จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านที่ยื่นแบบคำขอและผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระดับจังหวัด จำนวน 2,117 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 99.36 คงเหลือ 14 กองทุน ยังไม่ยื่นเพิ่มทุนฯ ระยะที่ 3 ที่อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสาร
3.2 ผ่านการอนุมัติ จาก สทบ. ได้รับเงินโอนเพิ่มทุน ระยะที่ 3 (1,000,000 บาท ) จำนวน 2,107 กองทุน คงเหลือ จำนวน 10 กองทุน อยู่ระหว่าง สทบ. โอนเงิน
4. ตามที่รัฐบาลได้มี มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย สำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ได้รับการจัดระดับ A และ B สามารถกู้ยืมเงินไปพัฒนาอาชีพ สร้างงาน ปัจจุบัน มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้กู้ยืมตามโครงการนี้ เงินเพิ่มทุน ตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 1,1614 กองทุน เป็นเงิน 1,610,934,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 86 แยกเป็น ธนาคารออมสิน จำนวน 681 กองทุน เป็นเงิน 679,210,000 บาท และ ธกส. จำนวน 933 กองทุน เป็นเงิน 931,724,800 บาท
*พัฒนายกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนแล้วจำนวน 29 แห่ง
จัดตั้งเป็นสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 17 กองทุน จัดตั้งเป็นสถาบันการเงินชุมชน (นำำร่อง) จำนวน 5 กองทุน ,
จัดตั้งเป็นสถาบันการเงินชุมชนโดยหน่วยงานภาคี 5 แห่ง /องค์กรเอกชนสนับสนุน จำนวน 4 แห่ง /พัฒนายกระดับด้วยตัวเอง 2 แห่ง
*เตรียมจัดตั้งเป็นสถาบันการเรียนรู้กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง (สถาบันการเงินชุมชนแนงมุด ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์)
*โครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน SML ปี 2555 เป้าหมาย 2,152 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้รับการโอนเงินแล้ว 17 รอบ จำนวน 2,134 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 99
* โครงการพัฒนาเมือง "ร้อยมือ สร้างเมือง" อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการ 6 โครงการในระดับส่วนกลาง
(ข้อมูล ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559) By:Somluck
สุดยอดโครงกรนี้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล