• ลิงก์ บันทึกข้อมูลสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน

    บันทึกข้อมูลสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

    คลิกเพื่อบันทึกข้อมูลสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

  • ภารกิจ แผนงาน กิจกรรม

    กันยายน 2012
    จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
     12
    3456789
    10111213141516
    17181920212223
    24252627282930
  • หมวดหมู่

  • คลังเก็บ

  • ผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7 (สุรินทร์)

    รายงานสรุปผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์

    (ข้อมูล ณ วันที่  1ตุลาคม 2562 )

    ข้อมูลทั่วไป

    จังหวัดสุรินทร์มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 2,145 กองทุน (แยกเป็นกองทุนหมู่บ้าน 2,120 กองทุน ,กองทุนชุมชนเมือง 25 กองทุน) ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์ ได้ดำเนินการมาครบ   18 ปี 2 เดือน มีเงินทุนหมุนเวียนและสินทรัพย์ทั้งสิ้น  9,323,430,915.57 (-เก้าพันสามร้อยยี่สิบสามล้านสี่แสนสามหมื่นเก้าร้อยสิบห้าบาทห้าสิบเจ็ดสตางค์-) แยกเป็น

    1)เงินทุนหมุนเวียนสำหรับการรับฝาก-ปล่อยกู้มีเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน   8,218,218,406.57 (แปดพันสองร้อยสิบแปดล้านสองแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสี่ร้อยหกบาทห้าสิบเจ็ดสตางค์-) แยกเป็น  4 บัญชี ดังนี้                                                                 

                บัญชี 1 (1 ล้านบาท)  รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน     5,821,216,308.57 บาท  ประกอบไปด้วย 2 ส่วน

          ส่วนที่ 1 เงินจัดสรรจากรัฐบาล 4,797,300,000 บาท  (สี่พันเจ็ดร้อยเก้าสิบเจ็ดล้านสามแสนบาท)    ได้แก่

    1.                    เงิน 1 ล้าน (บาท) จำนวน 2,145 กองทุน เป็นเงิน 2,145,000,000 บาท
    2.                      เงินเพิ่มทุนระยะที่ 1 (1แสนบาท) 659 เป็นเงิน  65,900,000 บาท
    3.                    เงินเพิ่มทุนระยะที่ 2  จำนวน 2,126 กองทุน เป็นเงิน 469,400,000 บาท
    4.                   เงินเพิ่มทุนระยะที่ 3  จำนวน 2,117 กองทุน เป็นเงิน 2,117,000,000 บาท

                ส่วนที่ 2  เงินสมทบและประกันความเสี่ยง  รวม     554,258,328.99

    • เงินสมทบกองทุน จำนวน   1,926 กองทุน เป็นเงิน 342,763981.09
    • เงินประกันความเสี่ยง จำนวน   1,926 กองทุน เป็นเงินทั้งสิ้น 193,513,166 บาท

              บัญชี 2 (หุ้น/สัจจะ/เงินออม)      รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน     469,657,979.58 แยกเป็น

    หุ้น  เป็นเงิน  87,794,343.64 บาท

    สัจจะ เป็นเงิน 363,071,657.09 บาท

    ออม เป็นเงิน 18,791787.85 บาท

              บัญชี 3 เงินเพิ่มทุน  2,336,002,098 บาท แยกเป็น

    เงินเพิ่มทุนปกติ(กทบ.9) จากสถาบันการเงิน เป็นเงิน     671,365,298  บาท

    เงินเพิ่มทุน ตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย  จำนวน 1,666 กองทุน เป็นเงิน 1,664,636,800 บาท

                บัญชี 4/ เงินอุดหนุน/บัญชีอื่นๆ สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเงิน  61,000,000 บาท

    2)เงินสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับการดำเนินการโครงการประชารัฐ ปี 2559-2561 เป็นเงินรวม 1,105,212,509  บาท มี 3 ระยะดังนี้

    ประชารัฐ 500,000  จำนวน  2,016 เป็นเงิน       107,618,509.00 บาท

    ประชารัฐ 200,000  จำนวน  1,964 เป็นเงิน       393,394,000.00 บาท

    ประชารัฐ 300,000  จำนวน  2,014 เป็นเงิน       604,200,000.00 บาท

     

     

    • การจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนิติบุคคล

    ดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 แล้วจำนวน 2,131 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 99.40  คงเหลือยังไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 13 กองทุน (ชุมชนเมือง)   เมื่อ่ปี 2555 มีกองทุนที่จัดตั้งและจดทะเบียน และได้รับเงินโอน 1 ล้านบาท เมื่อปี 2558 จำนวน 1 กองทุน รวมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว 2,132 กองทุน  และชุมชนทหาร 3 กองทุน จดทะเบียนเรียบร้อย ( สทบ. ส่วนกลางกำกับดูแล)

    • การจัดระดับ A B C D จาก สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ปี  2555

              จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับจัดระดับการประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์  จำนวน 2,144 กองทุน ดังนี้

    ระดับดีมาก (A) จำนวน  1,186 กองทุน  ระดับดี  (B)      จำนวน 697 กองทุน

    ระดับกลาง  (C) จำนวน  222 กองทุน               ระดับปรับปรุง(D)  จำนวน  39 กองทุน

    • การดำเนินการ ตามโครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3  จำนวน 1,000,000 บาท

    (ตั้ง ปี 2555- ปัจจุบัน )  จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านที่ยื่นแบบคำขอและผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระดับจังหวัด จำนวน 2,117 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 99.34  ผ่านการอนุมัติ จาก สทบ.   ได้รับเงินโอนเพิ่มทุน ระยะที่ 3 (1,000,000 บาท )  จำนวน 2,117 กองทุน   คงเหลือ 14 กองทุน ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู แล้ว 13 กองทุน และยังไม่จดทะเบียนที่ยังไม่เข้ากระบวนการฟื้นฟู 13 กองทุน รวมยังไม่ได้รับเงินเพิ่มทุน ระยะที่ 3  จำนวน 27 กองทุน

    • ตามที่รัฐบาลได้มี มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย สำหรับกองทุนหมู่บ้านและ

    ชุมชนเมือง ที่ได้รับการจัดระดับ A และ B  จำนวน 1,883 กองทุน  สามารถกู้ยืมเงินไปพัฒนาอาชีพ สร้างงาน  ปัจจุบัน มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้กู้ยืมตามโครงการนี้ เงินเพิ่มทุน ตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 1,666 กองทุน เป็นเงิน 1,664,636,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 88.44   แยกเป็น

    1) ธนาคารออมสิน จำนวน 710 กองทุน เป็นเงิน 710,000,000 บาท

    2) ธกส. จำนวน 956 กองทุน เป็นเงิน 954,636,800 บาท

    สมาชิกกู้ยืมเงินจำนวน  104,150 ราย นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ จำนวน 104,150 ราย   เป็นเงิน ทั้งสิ้น 1,664,636,800 บาท

     

    • การดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (กองทุน

    หมู่บ้านละไม่เกิน 500,000 บาท) จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการอนุมัติเงินโครงการจำนวน 2,016 กองทุน  จำนวนโครงการ 2,193 โครงการ คิดเป็น เงิน 1,007,618,509 บาท (หนึ่งพันเจ็ดล้านหกแสนหนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยเก้าบาทถ้วน-)

     

    • โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (กองทุน

    หมู่บ้านละไม่เกิน 200,000 บาท) จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับอนุมัติโครงการ 1,967 กองทุน  จำนวนโครงการ 2,030 โครงการ เป็นเงิน 393,394,000 บาท (-สามร้อยเก้าสิบสามล้านสามแสนเก้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน-)

    • โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ (กองทุนหมู่บ้าน

    ละไม่เกิน 300,000 บาท) มีกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับอนุมัติโครงการ 2,014 กองทุน  จำนวนโครงการ 2,147 โครงการ เป็นเงิน 604,200,000 บาท (-หกร้อยสี่ล้านสองแสนบาทถ้วน-)

     

    • การขอรับเครื่อง EDC จากกรมบัญชีกลาง มีกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการเพิ่มความเข้มแข็ง

    ของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ   รวมทั้งสิ้น  162 กองทุน

    – กองทุนหมู่บ้านละไม่เกิน 500,000 บาท  และ โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (กองทุนหมู่บ้านละไม่เกิน 200,000 บาท) ยื่นแบบคำขอ และเปิดบัญชีธนาคารรองรับเครื่อง EDC แล้ว รวมจำนวน 158 กองทุน

    – กองทุนหมู่บ้านที่ใช้ผลกำไร และหุ้นจากสมาชิกกองทุนตั้งร้านค้ายื่นแบบคำขอ และเปิดบัญชีธนาคารรองรับเครื่อง EDC แล้ว รวมจำนวน  3 กองทุน

    – กองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินการรถโมบายยื่นแบบคำขอและเปิดบัญชีธนาคารรองรับเครื่องEDCแล้ว1 กองทุน

     

    1. ระบบการบริหารจัดการกองทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์

    – คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด  1 แห่ง จำนวน    35        คน

    – คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ         จำนวน     17        แห่ง

    – คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล/ชุมชน 159 แห่ง ดังนี้

    คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล จำนวน  158    แห่ง

    คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับชุมชน(เทศบาล) จำนวน   1  แห่ง

    – คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน  2,145 กองทุน จำนวน  20,977   คน

    แยกเป็น  (ชายจำนวน   8,950  ราย และหญิง จำนวน 12,036 ราย)

    – สมาชิกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด                     จำนวน   218,716  ราย

    แยกเป็น   (ชาย  จำนวน 75,604 ราย และหญิง จำนวน 138,913 ราย)

    • การพัฒนายกระดับกองทุนหมู่บ้านเป็นสถาบันการเงินชุมชน
    1. สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายการ

    ในปี พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน ดำเนินงาน อำเภอละ 2 แห่ง จำนวน 34 แห่ง ปัจจุบัน เปิดดำเนินการแล้ว จำนวน 12  แห่ง (ได้รับสนับสนุน 20,000 บาท จาก สทบ.)

    ปี พ.ศ. 2555  เป้าหมายการดำเนินงาน  จำนวน 4 แห่งเปิดดำเนินการแล้ว 2 แห่ง  (กองทุนฯบ้านหนองแรต ม.5 ต.หนองขวาว อ.ศีขรภูมิ, กองทุนบ้านโนนสูง อ.ท่าตูม)

    1. สถาบันการเงินชุมชนนำร่อง ระหว่าง ปี พ.ศ. 2547-2553 เปิดดำเนินการ

    – สถาบันการเงินบ้านทนง ม.6 ต.นอกเมือง อ.เมือง ออมสินสนับสนุน (สถานะประสบปัญหา)
    – สถาบันการเงินตำบลไผ่ ม.9 ต.ไผ่ อ.รัตนบุรี ออมสินสนับสนุน
    – สถาบันการเงินชุมชนแนงมุด ต.แนงมุด อ.กาบเชิง  ธกส.สนับสนุน
    – สถาบันการเงินหนองขอนใหญ่ ม.13 ต.บุแกรง อ.จอมพระ ธกส.สนับสนุน
    – สถาบันการเงินหนองสนิท ม.9 ต.หนองสนิท อ.จอมพระ ธกส.สนับสนุน

    1. การจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้กองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการเรียนรู้ สถาบันการเงินชุมชนแนงมุด ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
  • Translate

โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมุ่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ ๓


กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนฯ ระดับจังหวัด รอบที่๑ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๒๘๑ กองทุน คงเหลือ ๔๐๒ กองทุน  ขาดคุณสมบัติ ในด้าน 

  • ๑.เงินออมบัญชี ๒ ไม่ควรน้อยกว่า ๗๐,๐๐๐ บาท 
  • ๒. เอกสารไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
  • ๓.งบดุลไม่เป็นไปตามแบบ ที่ สทบ. กำหนด
  • ๔.อื่นๆ

(รายละเอียด จนท. สทบ.จังหวัด จักส่งเป็นไฟล์แนบให้ทางอีเมล)

ใส่ความเห็น