• ลิงก์ บันทึกข้อมูลสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน

    บันทึกข้อมูลสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

    คลิกเพื่อบันทึกข้อมูลสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

  • ภารกิจ แผนงาน กิจกรรม

    กุมภาพันธ์ 2009
    จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
     1
    2345678
    9101112131415
    16171819202122
    232425262728  
  • หมวดหมู่

  • คลังเก็บ

  • ผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7 (สุรินทร์)

    รายงานสรุปผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์

    (ข้อมูล ณ วันที่  1ตุลาคม 2562 )

    ข้อมูลทั่วไป

    จังหวัดสุรินทร์มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 2,145 กองทุน (แยกเป็นกองทุนหมู่บ้าน 2,120 กองทุน ,กองทุนชุมชนเมือง 25 กองทุน) ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์ ได้ดำเนินการมาครบ   18 ปี 2 เดือน มีเงินทุนหมุนเวียนและสินทรัพย์ทั้งสิ้น  9,323,430,915.57 (-เก้าพันสามร้อยยี่สิบสามล้านสี่แสนสามหมื่นเก้าร้อยสิบห้าบาทห้าสิบเจ็ดสตางค์-) แยกเป็น

    1)เงินทุนหมุนเวียนสำหรับการรับฝาก-ปล่อยกู้มีเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน   8,218,218,406.57 (แปดพันสองร้อยสิบแปดล้านสองแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสี่ร้อยหกบาทห้าสิบเจ็ดสตางค์-) แยกเป็น  4 บัญชี ดังนี้                                                                 

                บัญชี 1 (1 ล้านบาท)  รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน     5,821,216,308.57 บาท  ประกอบไปด้วย 2 ส่วน

          ส่วนที่ 1 เงินจัดสรรจากรัฐบาล 4,797,300,000 บาท  (สี่พันเจ็ดร้อยเก้าสิบเจ็ดล้านสามแสนบาท)    ได้แก่

    1.                    เงิน 1 ล้าน (บาท) จำนวน 2,145 กองทุน เป็นเงิน 2,145,000,000 บาท
    2.                      เงินเพิ่มทุนระยะที่ 1 (1แสนบาท) 659 เป็นเงิน  65,900,000 บาท
    3.                    เงินเพิ่มทุนระยะที่ 2  จำนวน 2,126 กองทุน เป็นเงิน 469,400,000 บาท
    4.                   เงินเพิ่มทุนระยะที่ 3  จำนวน 2,117 กองทุน เป็นเงิน 2,117,000,000 บาท

                ส่วนที่ 2  เงินสมทบและประกันความเสี่ยง  รวม     554,258,328.99

    • เงินสมทบกองทุน จำนวน   1,926 กองทุน เป็นเงิน 342,763981.09
    • เงินประกันความเสี่ยง จำนวน   1,926 กองทุน เป็นเงินทั้งสิ้น 193,513,166 บาท

              บัญชี 2 (หุ้น/สัจจะ/เงินออม)      รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน     469,657,979.58 แยกเป็น

    หุ้น  เป็นเงิน  87,794,343.64 บาท

    สัจจะ เป็นเงิน 363,071,657.09 บาท

    ออม เป็นเงิน 18,791787.85 บาท

              บัญชี 3 เงินเพิ่มทุน  2,336,002,098 บาท แยกเป็น

    เงินเพิ่มทุนปกติ(กทบ.9) จากสถาบันการเงิน เป็นเงิน     671,365,298  บาท

    เงินเพิ่มทุน ตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย  จำนวน 1,666 กองทุน เป็นเงิน 1,664,636,800 บาท

                บัญชี 4/ เงินอุดหนุน/บัญชีอื่นๆ สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเงิน  61,000,000 บาท

    2)เงินสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับการดำเนินการโครงการประชารัฐ ปี 2559-2561 เป็นเงินรวม 1,105,212,509  บาท มี 3 ระยะดังนี้

    ประชารัฐ 500,000  จำนวน  2,016 เป็นเงิน       107,618,509.00 บาท

    ประชารัฐ 200,000  จำนวน  1,964 เป็นเงิน       393,394,000.00 บาท

    ประชารัฐ 300,000  จำนวน  2,014 เป็นเงิน       604,200,000.00 บาท

     

     

    • การจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนิติบุคคล

    ดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 แล้วจำนวน 2,131 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 99.40  คงเหลือยังไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 13 กองทุน (ชุมชนเมือง)   เมื่อ่ปี 2555 มีกองทุนที่จัดตั้งและจดทะเบียน และได้รับเงินโอน 1 ล้านบาท เมื่อปี 2558 จำนวน 1 กองทุน รวมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว 2,132 กองทุน  และชุมชนทหาร 3 กองทุน จดทะเบียนเรียบร้อย ( สทบ. ส่วนกลางกำกับดูแล)

    • การจัดระดับ A B C D จาก สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ปี  2555

              จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับจัดระดับการประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์  จำนวน 2,144 กองทุน ดังนี้

    ระดับดีมาก (A) จำนวน  1,186 กองทุน  ระดับดี  (B)      จำนวน 697 กองทุน

    ระดับกลาง  (C) จำนวน  222 กองทุน               ระดับปรับปรุง(D)  จำนวน  39 กองทุน

    • การดำเนินการ ตามโครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3  จำนวน 1,000,000 บาท

    (ตั้ง ปี 2555- ปัจจุบัน )  จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านที่ยื่นแบบคำขอและผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระดับจังหวัด จำนวน 2,117 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 99.34  ผ่านการอนุมัติ จาก สทบ.   ได้รับเงินโอนเพิ่มทุน ระยะที่ 3 (1,000,000 บาท )  จำนวน 2,117 กองทุน   คงเหลือ 14 กองทุน ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู แล้ว 13 กองทุน และยังไม่จดทะเบียนที่ยังไม่เข้ากระบวนการฟื้นฟู 13 กองทุน รวมยังไม่ได้รับเงินเพิ่มทุน ระยะที่ 3  จำนวน 27 กองทุน

    • ตามที่รัฐบาลได้มี มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย สำหรับกองทุนหมู่บ้านและ

    ชุมชนเมือง ที่ได้รับการจัดระดับ A และ B  จำนวน 1,883 กองทุน  สามารถกู้ยืมเงินไปพัฒนาอาชีพ สร้างงาน  ปัจจุบัน มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้กู้ยืมตามโครงการนี้ เงินเพิ่มทุน ตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย จำนวน 1,666 กองทุน เป็นเงิน 1,664,636,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 88.44   แยกเป็น

    1) ธนาคารออมสิน จำนวน 710 กองทุน เป็นเงิน 710,000,000 บาท

    2) ธกส. จำนวน 956 กองทุน เป็นเงิน 954,636,800 บาท

    สมาชิกกู้ยืมเงินจำนวน  104,150 ราย นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ จำนวน 104,150 ราย   เป็นเงิน ทั้งสิ้น 1,664,636,800 บาท

     

    • การดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (กองทุน

    หมู่บ้านละไม่เกิน 500,000 บาท) จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการอนุมัติเงินโครงการจำนวน 2,016 กองทุน  จำนวนโครงการ 2,193 โครงการ คิดเป็น เงิน 1,007,618,509 บาท (หนึ่งพันเจ็ดล้านหกแสนหนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยเก้าบาทถ้วน-)

     

    • โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (กองทุน

    หมู่บ้านละไม่เกิน 200,000 บาท) จังหวัดสุรินทร์ มีกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับอนุมัติโครงการ 1,967 กองทุน  จำนวนโครงการ 2,030 โครงการ เป็นเงิน 393,394,000 บาท (-สามร้อยเก้าสิบสามล้านสามแสนเก้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน-)

    • โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ (กองทุนหมู่บ้าน

    ละไม่เกิน 300,000 บาท) มีกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับอนุมัติโครงการ 2,014 กองทุน  จำนวนโครงการ 2,147 โครงการ เป็นเงิน 604,200,000 บาท (-หกร้อยสี่ล้านสองแสนบาทถ้วน-)

     

    • การขอรับเครื่อง EDC จากกรมบัญชีกลาง มีกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการเพิ่มความเข้มแข็ง

    ของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ   รวมทั้งสิ้น  162 กองทุน

    – กองทุนหมู่บ้านละไม่เกิน 500,000 บาท  และ โครงการเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ (กองทุนหมู่บ้านละไม่เกิน 200,000 บาท) ยื่นแบบคำขอ และเปิดบัญชีธนาคารรองรับเครื่อง EDC แล้ว รวมจำนวน 158 กองทุน

    – กองทุนหมู่บ้านที่ใช้ผลกำไร และหุ้นจากสมาชิกกองทุนตั้งร้านค้ายื่นแบบคำขอ และเปิดบัญชีธนาคารรองรับเครื่อง EDC แล้ว รวมจำนวน  3 กองทุน

    – กองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินการรถโมบายยื่นแบบคำขอและเปิดบัญชีธนาคารรองรับเครื่องEDCแล้ว1 กองทุน

     

    1. ระบบการบริหารจัดการกองทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์

    – คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด  1 แห่ง จำนวน    35        คน

    – คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ         จำนวน     17        แห่ง

    – คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล/ชุมชน 159 แห่ง ดังนี้

    คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล จำนวน  158    แห่ง

    คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับชุมชน(เทศบาล) จำนวน   1  แห่ง

    – คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน  2,145 กองทุน จำนวน  20,977   คน

    แยกเป็น  (ชายจำนวน   8,950  ราย และหญิง จำนวน 12,036 ราย)

    – สมาชิกองทุนหมู่บ้านทั้งหมด                     จำนวน   218,716  ราย

    แยกเป็น   (ชาย  จำนวน 75,604 ราย และหญิง จำนวน 138,913 ราย)

    • การพัฒนายกระดับกองทุนหมู่บ้านเป็นสถาบันการเงินชุมชน
    1. สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายการ

    ในปี พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน ดำเนินงาน อำเภอละ 2 แห่ง จำนวน 34 แห่ง ปัจจุบัน เปิดดำเนินการแล้ว จำนวน 12  แห่ง (ได้รับสนับสนุน 20,000 บาท จาก สทบ.)

    ปี พ.ศ. 2555  เป้าหมายการดำเนินงาน  จำนวน 4 แห่งเปิดดำเนินการแล้ว 2 แห่ง  (กองทุนฯบ้านหนองแรต ม.5 ต.หนองขวาว อ.ศีขรภูมิ, กองทุนบ้านโนนสูง อ.ท่าตูม)

    1. สถาบันการเงินชุมชนนำร่อง ระหว่าง ปี พ.ศ. 2547-2553 เปิดดำเนินการ

    – สถาบันการเงินบ้านทนง ม.6 ต.นอกเมือง อ.เมือง ออมสินสนับสนุน (สถานะประสบปัญหา)
    – สถาบันการเงินตำบลไผ่ ม.9 ต.ไผ่ อ.รัตนบุรี ออมสินสนับสนุน
    – สถาบันการเงินชุมชนแนงมุด ต.แนงมุด อ.กาบเชิง  ธกส.สนับสนุน
    – สถาบันการเงินหนองขอนใหญ่ ม.13 ต.บุแกรง อ.จอมพระ ธกส.สนับสนุน
    – สถาบันการเงินหนองสนิท ม.9 ต.หนองสนิท อ.จอมพระ ธกส.สนับสนุน

    1. การจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้กองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการเรียนรู้ สถาบันการเงินชุมชนแนงมุด ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
  • Translate

“คลีนิคกองทุนหมู่บ้าน” ตามโครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุข


เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๐.๐๐ น.

 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” จังหวัดสุรินทร์

 

 

 นายปราโมทย์ สัจจรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนชาวอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ พร้อมกันให้การต้อนรับ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดสุรินทร์ ณ โรงเรียนสังขะวิทยา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

 

การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในการจัดหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อให้บริการประชาชน จังหวัดสุรินทร์ จึงได้ร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของทุกกระทรวงในจังหวัด (จำนวน 326 หน่วยงาน) ดำเนินโครงการ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนของจังหวัดสุรินทร์ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสำคัญ ในการจัดหน่วยบริการประชาชนเพื่อให้บริการเชิงรุก ในลักษณะของเคาน์เตอร์บริการ (Counter Service) หรือหน่วยบริการเคลื่อนที่ เข้าไปให้บริการถึงพื้นที่หมู่บ้าน แหล่งชุมชนหรือพื้นที่ตามเป้าหมาย เป็นการเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการขอรับบริการจากรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐได้รับทราบปัญหาความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
2.
เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในทุก ๆ ด้าน และเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้สะดวก รวดเร็ว
3.
เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเดินทางมาติดต่อ ราชการ และลดค่าครองชีพให้กับประชาชนในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
4.
เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐกับประชาชนในพื้นที่ อันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่/ชุมชน ในภาพรวมต่อไปในอนาคต
โครงการ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะ สาระสำคัญ หรือจุดเด่น ดังนี้
1.
มีการจัดกลุ่มงานบริการของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีลักษณะเดียวไว้รวมกัน เพื่อความสะดวก คล่องตัว รวดเร็ว ในการให้บริการ เช่น (1) กลุ่มงานทะเบียน ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวเนื่องให้บริการตั้งแต่เรื่องเกิดไปถึงเรื่องบ้าน ที่ดิน ไฟฟ้า ประปา จดทะเบียนรถ ห้าง นิติบุคคล ชำระภาษี (2) กลุ่มแรงงาน ความต้องการแรงงาน และแนะแนวอาชีพ (3) การให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง (4) งานสวัสดิการ แจกเบี้ยยังชีพ (5) สินเชื่อของรัฐ (6) ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ พลังงาน

(7) ให้คำปรึกษาทางด้านข้อกฎหมาย แก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ความเดือดร้อน โดยมี อัยการจังหวัดสุรินทร์  /บังคับคดี/ สถาบันการเงิน (ธนาคารออมสิน /ธกส/กรุงไทย/SME) มาให้คำปรึกษา สำหรับกลุ่มเป้าหมาย  กองทุนหมู่บ้านที่มีปัญหาความเสี่ยงในการบริหารจัดการจำนวน  ๑๐๐ กองทุน  ที่ประสบปัญหา ใน "คลีนิกกองทุนหมู่บ้าน"ฐานที่ ๓ ของ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์

 

โดยมีอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน/  ผอ.เขต ๑๑ /พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ / หัวหน้ากลุ่มงาน /เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน/นักวิชาการจังหวัด/อำเภอ /พัฒนากร / เจ้าหน้าที่ สทบ. จังหวัดสุรินทร์ /เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล/สมาชิกกองทุน ร่วมให้การต้อนรับ รมว มหาดไทยฯ

 

 

ทั้งนี้ในงานมีการนำเสนอผลงานกองทุนหมู่บ้านที่พัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนนำร่องและต้นแบบใน ๑๗ อำเภอ และกองทุนหมู่บ้าน/สมาชิกองทุนที่กู้เงินไปแล้วประสบความสำเร็จ รวมทั้ง ได้จัดเคาเตอร์ให้บริการรับฝากเงินจากสมาชิกกองทุนหมู่บ้านโดย

  •  สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบ  บ้านโคกปรือ ม. ๖ ต.ขอนแตก อ.สังขะ

  • สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบบ้านยาง  ต.กังแอน อ.ปราสาท ร่วมกิจกรรมภายในงาน

  • กิจกรรมของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกกองทุนหมู่บ้านของอำเภอสังขะ ได้จัดเคาเตอร์รับฝากเงินค่าฌาปนกิจฯ

(8) จำหน่ายสินค้า OTOP ธงฟ้าราคาประหยัด
2.
ทุกส่วนราชการในจังหวัด ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชน มีความเห็นพ้อง และให้ความร่วมมือสนับสนุน ผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ โดยยึดถือความต้องการของประชาชนเป็นเป้าหมาย

 

 

 

 

 

 

เปิดสถาบันการเงินบ้านตะเคียน อ.สำโรงทาบเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552


 

สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบฯ 

บ้านตะเคียน ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

 

 

 ที่ทำการ 133 หมู่ที่ 9 ตำบลตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์  เบอร์ติดต่อ 0867273551

                1.เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ และลดรายจ่าย

                                2. เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ สวัสดิการแก่ประชาชนในหมู่บ้าน

                                3. เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน

                                4. รับฝากเงินจากสมาชิก และจัดหาทุนจากแหล่งอื่นๆเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์

                                5. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิตขิงสมาชิกหรืประชาชนในหมู่บ้านรวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของกองทุนหมู่บ้าน

กองกองทุนบ้านตะเคียนได้รับการจัดสรรโอนเงิน 1,000,000 บาท จากรัฐบาล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2544      

กองทุนบ้านตะเคียนได้บริหารจัดการกองทุนด้วยดีตลอดมา  ต่อมาปี 2550 ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและได้รับอนุมัติการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550

                ผ่านกระบวนการคัดเลือกจากสำนักงานอนุกรรมการสนับสนุนฯระดับจังหวัด/อำเภอ โดยสำนักงานเลขานุการคณะอนุฯระดับจังหวัด/อำเภอ ร่วมกับคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัด ให้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดโดยสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  ณ โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4-6 มกราคม 2551  โดยมีกลุ่มเป้าหมายอำเภอละ 2 กองทุนๆ ละ   3 คน ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการ 1 คน,ด้านบัญชี 1 คน และด้านคอมพิวเตอร์ 1 คน ซึ่งกองทุนหมู่บ้านตะเคียนได้ส่งเจ้าหน้าที่ 3 คนเข้ารับการอบรมฯ ในครั้งนี้ โดยมี

                                นางสาวนงเยาว์  สมนาค                  ด้านคอมพิวเตอร์

                                นางสุดใจ  บุญมาก                             ด้านบัญชี

                                นายมลทอง  สมนาค                          ด้านการบริหารจัดการ

 หลังจากกลับจากการอบรมฯก็เรียกประชุมสมาชิก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์  2551 ณ ที่ทำการกองทุนบ้านตะเคียน ม. 9 ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์  เพื่อทำการประชาคมการยกฐานนะกองทุนหมู่บ้านให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประธานได้ชี้แจงให้สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทราบตอนที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรสถาบันการเงินฯให้กับสมาชิกฟัง และขอมติจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชนฯจากสมาชิก ซึ่งสมาชิกให้ความเห็นชอบอนุมัติ ให้กองทุนหมู่บ้านยกฐานะเป็นสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อมาได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำนวน 20,000 บาท เพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินฯ  และได้ดำเนินการเปิดป้ายสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบฯบ้านตะเคียน

                                โดยมี นายวัชรินทร์  รัตนบรรณกิจ นายอำเภอสำโรงทาบ  ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดป้ายพัฒนาการอำเภอ เจ้าหน้าที่ พัฒนาชุมชนอำเภอ เครือข่ายอำเภอ/ตำบล /คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน/สมาชิกกองทุน  ตัวแทน สำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด และเจ้าหน้าที่ สทบ. ร่วมเปิดงาน  แล้วเมื่อวันที่ 13  มกราคม  2552  

 

ปัจจุบันนี้สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านตะเคียน  เปิดทำการทุกวันพุธ กับ อาทิตย์  เวลา 07.30 – 16.00 น. สมาชิกทั้งหมด 170   มีคณะกรรมการมาประจำวันละ 2 คน เบี้ยเลียงวันละ 100 บาท ซึ่งช่วงแรกให้นายประหยัด บุราคร และนายมลทอง  สมนาค ประจำวันพุธ และนางนงเยาว์  สมนาค และนางสุดใจ  บุญมาก ประจำวันอาทิตย์ และคณะกรรมการคนอื่นๆมาเรียนรู้การทำงานได้ทุกวัน เมื่อคณะกรรมการทุกคนเรียนรู้ได้แล้วจึงจัดเวรทำงานใหม่อีกครั้ง กิจกรรมของสถาบันฯ มี ปล่อยกู้แบบรายบุคคล ,รับฝาก ถอน , ระดมเงินหุ้น  เงินออมโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไปจะมีการอมตั้งแต่ 20 บาท  และเงินฝาก กิจกรรมด้านสินเชื่อ และสวัสดิการสู่ชุมชน โดยมีคณะกรรมการบริหารงานสถาบันฯทั้งหมด 12 คน ดังนี้

1. นายสุรางค์                       อยู่พะเนียด              ตำแหน่ง                ประธาน

2. นายมลทอง                      สมนาค                  ตำแหน่ง                รองประธาน

3. นายสมชัย                        ทองนาค                ตำแหน่ง                เลขานุการ

4. นายบุญเลิศ                      ชะฎาทอง             ตำแหน่ง                ผู้ช่วยเลขานุการ
5. นายประหยัด                   บุราคอน                ตำแหน่ง                ผู้ช่วยเลขานุการ

6. นายสุรพงษ์                     สุขคุ้ม                     ตำแหน่ง                เหรัญญิก

7. นายโกเมน                       สมนาค                  ตำแหน่ง                ผู้ช่วยเหรัญญิก

8. นายสุดใจ                         บุญมาก                  ตำแหน่ง                กรรมการ

9. นางสาวนงเยาว์              สมนาค                  ตำแหน่ง                กรรมการ

10.นางมะรุม                       สมนาค                  ตำแหน่ง                กรรมการ

11.นางชยาภรณ์                  สมนาค                  ตำแหน่ง                กรรมการ

12.นางรำไพ                        ดวงรัตน์                ตำแหน่ง                กรรมการ